ประตู 7 บานของ Cirque du Soleil
รศ.ดร. ศิริยุพา รุ่งเริงสุข สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้เขียนได้เปิดตัว Cirque du Soleil (Circus of the Sun) สู่สายตาของท่านผู้อ่านเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งท่านคงได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาของ Cirque ว่า ต้องฝ่าฟันอุปสรรคขวากหนามนานัปการอย่างไร กว่าจะมาเป็น Cirque du Soleil คณะแสดง Circus สมัยใหม่ที่ปัจจุบันมีพนักงาน 3,500 คน โดยเป็นพลเมืองมาจากชาติต่างๆ ถึง 40 ชาติ ตระเวนแสดงโชว์ปีละ 15 ครั้ง ในทุกทวีปทั่วโลก มีรายได้ประมาณปีละกว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ เพียงแค่การแสดงของ Cirque ที่ลาสเวกัสเพียงเมืองเดียวก็มีคนดูมากกว่า 9,000 คน ในแต่ละคืนกล่าวได้ว่าตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา Cirque สามารถพัฒนาฝีมือของนักแสดง เทคนิคแสง สี เสียง เอฟเฟกต์ ฉาก เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ฯลฯ จนทำให้การแสดงของ Cirque สมบูรณ์แบบที่สุด สวยงามด้วยศิลปะขั้นสุดยอด น่าตื่นตาตื่นใจสมเป็นโชว์ระดับโลกในปัจจุบันนี้...
ความผิดพลาด คือ บทเรียนอันล้ำค่า
ในปี 1984 สมัยก่อตั้งคณะ Circus ใหม่ๆ Cirque มีพนักงานเพียง 73 คนเท่านั้น และด้วยความที่มีงบประมาณจำกัดทำให้ Guy Lalibert้ และ Daniel Gaulthier ไม่สามารถมีเต็นท์เป็นของตนเองได้ เวลาจะแสดงแต่ละครั้งก็ต้องเช่าเต็นท์มากาง บางครั้งมีฝนตกหนักน้ำขังบนหลังคาเต็นท์ทำให้หลังคาถล่มลงมาระหว่างการแสดง ก็มี เวลาตกอับหนักๆ เข้าไม่มีแม้แต่เงินจะโฆษณาติดป้ายให้คนมาชมการแสดง ผู้บริหารต้องแต่งชุดตัวตลกเดินไปเร่โฆษณาด้วยปากเปล่าในเมืองก็ทำมาแล้ว นี่ถ้าไม่ใช่เพราะใจรักในศิลปะด้านนี้จริงๆ ทั้ง Lalibert้ และ Gaulthier คงถอดใจเลิกแสดง Circus ไปขายฮอตดอกแทนไปนานแล้วก็ไม่รู้! และยังดีที่รัฐบาลท้องถิ่นของมณฑลควิเบกในแคนาดาได้ให้ความสนับสนุนด้านการ เงินมาเป็นระยะๆ จึงช่วยประคับประคองมิให้ Cirque ล้มแผละไปก่อน และสามารถพัฒนาตนเองจนประสบความสำเร็จในที่สุด
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 20 กว่าปี ที่โลดแล่นลุ่มๆ ดอนๆ ในธุรกิจการแสดง Circus ทำให้ Cirque สามารถสรุปหลักกลยุทธ์ที่สร้างความสำเร็จให้องค์กรได้อยู่ 7 ประการที่ Cirque เรียกว่าประตู 7 บาน ที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และช่วยให้ผู้นำขององค์กรสามารถรังสรรค์วิสัย ทัศน์สู่อนาคต ("Sculpt a vision of the future") ได้ ซึ่งหลักการทั้ง 7 นี้ ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือขึ้นในปี 2006 หนังสือนี้มีชื่อว่า "The Spark : Igniting the Creative Fire That Lives Within Us All" ท่านผู้ใดสนใจก็ลองไปหาซื้อมาอ่านดูนะคะ
หลักการประตู 7 บาน
จริงอยู่ที่ Cirque du Soleil เป็นคณะแสดง Circus แต่เราต้องไม่ลืมว่าการแสดง Circus นี้ก็คือ การบริหารธุรกิจชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ (Product) ของธุรกิจคือ สร้างความบันเทิงและความพอใจให้คนดูนั่นเอง และนับวันธุรกิจด้านบันเทิงก็ได้มีการพัฒนาตนเองให้เป็นธุรกิจที่มีความแข็ง แกร่งขึ้นทุกขณะ และเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับผู้บริหาร นักแสดง และคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในวงกว้าง ดังนั้น ธุรกิจการแสดงและบันเทิงจึงไม่ใช่ธุรกิจของ "พวกเต้นกินรำกิน" ที่ปู่ย่าตายายของเราเคยมองว่าเป็นอาชีพที่ฉาบฉวยไม่มั่นคงอีกต่อไป แต่เป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใสน่าจับตามองและน่าศึกษาวิธีการบริหาร
การบริหารธุรกิจบันเทิงก็เหมือนกับธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องมีโครงสร้าง วิสัยทัศน์ หลักกลยุทธ์ ค่านิยมในการบริหาร ทั้งนี้ Lyn Heward ซึ่งเป็น Ambassador and Executive Producer for Special Projects ของ Cirque ได้นำเสนอประตู 7 บานตามลำดับ ดังนี้
ประตูบานที่ 1 : Great Expectations (มีความคาดหวังอันยิ่งใหญ่) ที่ Cirque พนักงานทุกคนได้รับการเคารพว่าเขาต่างมีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตนเอง ดังนั้น เมื่อ Cirque มีความเคารพและให้เกียรติพนักงาน Cirque ก็มีความคาดหวังสูงว่าพนักงานจะรู้ว่าตนเองต้องทำอะไร รู้ว่ามาตรฐานของ Cirque เป็นอย่างไร ต้องสร้างความแตกต่างอย่างไร โดยไม่ต้องให้ใครมาสั่งให้ทำ ให้คิด
ประตูบานที่ 2 : Surrender to your senses (ยอม...รับในความรู้สึกของคุณเถอะ) ธุรกิจการแสดงของ Cirque เป็นการสื่อซึ่งศิลปะอันประณีต ไม่ว่าจะเป็นลีลาการเต้น การแสดงกายกรรม ซึ่งต้องอาศัยพละกำลังความแข็งแกร่งผนวกกับลีลาทางศิลปะ ซึ่งทำให้การแสดงกายกรรมไม่ดูเหมือนการเล่นพลศึกษาธรรมดาๆ ดนตรีประกอบการแสดง เรื่องราวต่างๆ ที่ถ่ายทอดผ่านตัวตลก เครื่องแต่งกาย การจัดฉาก แสง สี ต่างๆ ทุกองค์ประกอบของการแสดงคือ ศิลปะ ซึ่งทุกคนในทีมงานต้องมีความคิิดสร้างสรรค์และถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานที่ไม่ ซ้ำแบบใคร Cirque จึงมีปรัชญาในการทำงานที่กระตุ้นให้พนักงานใช้ความรู้สึก (Sense) หรือการหยั่งรู้ (Intuition) ของตนเอง ให้เชื่อในความรู้สึกของตัวเองแล้วสร้างผลงานตามความรู้สึกนั้น
ประตูบานที่ 3 : Treasure hunting and creative transformation (ปฏิบัติการตามล่าสมบัติและการแปลงสมบัติที่สร้างสรรค์) ต้องขออภัยหากแปลเป็นภาษาไทยแล้วไม่สละสลวย ไม่โดนใจเท่าที่ควร ยอมรับค่ะว่าแปลภาษาแนวติสต์ๆ นี่แปลยาก อย่างไรก็ตามสรุปความได้ว่า Cirque มองว่าบุคลากรคือ สมบัติ (Treasure) ที่มีค่า และเนื่องจาก Cirque มีรากฐานจากการเป็นนักแสดงเร่ที่แสดงตามถนนหนทางมาก่อน ซึ่งนักแสดงที่แสดงตามถนนได้ต้องมีคุณสมบัติพิเศษบางประการคือ ต้องมีความมั่นใจสูง กล้าเสี่ยง ทั้งนี้ ลองจินตนาการว่าจู่ๆ คุณต้องไปยืนตามฟุตปาทแล้วไปแสดงอะไรเพื่อให้คนสนใจมาดู...ยากมั้ยล่ะคะ? ดังนั้น Cirque จึงตามล่าหาบุคลากรที่เป็นคนกล้าเสี่ยง (Risk-taker) นี่แหละค่ะ จากนั้นพอได้ตัวมาก็จะทำการอบรมฝึกฝน แปลง (Transform) คุณสมบัตินั้นให้ฉายแสงยิ่งขึ้น
ประตูบานที่ 4 : Nurturing Environment (สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้) สภาพแวดล้อมที่ Cirque พิจารณาว่าเหมาะสมในการบ่มเพาะสนับสนุนให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์คือ สภาพแวดล้อมที่เปรียบเหมือนสนามเด็กเล่น (Playground) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีกฎระเบียบอยู่บ้าง แต่ก็จะมีน้อยที่สุดเพื่อให้บรรดาศิลปิน ช่างเทคนิค และพนักงานทั้งหลายสามารถมองโลกด้วยสายตาของเด็ก เพราะเด็กจะมีความกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น กล้าลอง ขี้เล่น ไม่กลัว หรือระวังตัวจนเกร็งเหมือนผู้ใหญ่ ด้วยสภาพแวดล้อมแบบนี้แหละที่ทำให้บุคลากรของ Cirque มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานการแสดงที่มีศิลปะชั้นสูง
ประตูบานที่ 5 : Constraints, Challenges, Differences And Consumer Expectations (เรียนรู้ที่จะจัดการกับข้อจำกัด สิ่งท้าทาย ความแตกต่างและความคาดหวังของลูกค้า) เป็นที่รู้ๆ กันอยู่ในกลุ่มผู้ถือหุ้นของ Cirque ว่าพนักงานของ Cirque ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ บรรดาศิลปินหรืออาร์ติสต์นี้ ไม่ชอบบริหารงานเกี่ยวกับงบประมา
ณ ไม่ชอบการที่ต้องทำงานตามเส้นตาย (Dead Lines) แล้วก็ไม่ชอบที่ต้องมีทรัพยากรที่จำกัด อย่างไรก็ตามในโลกของการทำงาน เราย่อมหนีเรื่องนี้ไปไม่พ้น ทุกๆ คนต้องคำนึงถึงงบประมาณ ข้อจำกัด วันกำหนดส่งงานที่กระชั้น ลูกค้าที่มีความต้องการหลากหลายไม่รู้จบ... Cirque จึงสอนให้พนักงานรู้จักเผชิญหน้ากับข้อจำกัดและสิ่งท้าทายต่างๆ นี้ ซึ่งมันเป็นผลดีแก่พนักงาน เพราะในที่สุดพวกเขาก็เรียนรู้ที่จะจัดการกับมันอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังสามารถสร้างผลงานได้มากกว่าเดิมเสียอีกเมื่อมี ทรัพยากรจำกัด!
ณ ไม่ชอบการที่ต้องทำงานตามเส้นตาย (Dead Lines) แล้วก็ไม่ชอบที่ต้องมีทรัพยากรที่จำกัด อย่างไรก็ตามในโลกของการทำงาน เราย่อมหนีเรื่องนี้ไปไม่พ้น ทุกๆ คนต้องคำนึงถึงงบประมาณ ข้อจำกัด วันกำหนดส่งงานที่กระชั้น ลูกค้าที่มีความต้องการหลากหลายไม่รู้จบ... Cirque จึงสอนให้พนักงานรู้จักเผชิญหน้ากับข้อจำกัดและสิ่งท้าทายต่างๆ นี้ ซึ่งมันเป็นผลดีแก่พนักงาน เพราะในที่สุดพวกเขาก็เรียนรู้ที่จะจัดการกับมันอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังสามารถสร้างผลงานได้มากกว่าเดิมเสียอีกเมื่อมี ทรัพยากรจำกัด!
ประตูบานที่ 6 : Risk taking ; Do you ever get burned? (รู้จักเสี่ยง, เคยถูกไฟลวกไหม?) Lyn Heward กล่าวว่า งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ล้วนเริ่มมาจากการมีความกล้า (Courage) กล้าลองสิ่งใหม่ๆ และถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์นั้นกับผู้อื่น โชว์ของ Cirque ในหลายๆ โชว์มีฉากน่าหวาดเสียว มีการใช้เอฟเฟกต์ต่างๆ ซึ่งถ้าพลาดก็หมายถึงนักแสดงต้องเจ็บตัวไม่มากก็น้อย มีครั้งหนึ่งนักแสดงถูกไฟลวกขณะซ้อมการแสดง เขาได้รับบาดเจ็บมาก แต่ก็ยังยืนยันที่จะแสดงในรอบจริง บทเรียนจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้ทีมงานเรียนรู้ที่จะระมัดระวังมากขึ้นและรู้จักรับมือกับเหตุฉุกเฉิน อย่างไร "การที่องค์กรไม่กล้าเสี่ยง นั่นคือจุดเสี่ยงที่สุดขององค์กร" คือ บทสรุปจาก Cirque
ประตูบานที่ 7 : Keep it fresh (รักษาความสดเอาไว้) ธุรกิจบันเทิง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคือ ขายความบันเทิง ดังนั้น จึงต้องมีอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ มานำเสนออยู่เรื่อยๆ จะฉายหนังเก่าซ้ำซากอีกหน่อยคนดูก็เบื่อ ดังนั้น Cirque ต้องรักษา "ความสด" ของการแสดงไว้เสมอ อายุของโชว์แต่ละโชว์ก็มีจำกัด วิธีเช็กปฏิกิริยาของคนดูของ Cirque คือ บรรดาผู้บริหารระดับสูงจะต้องนั่งชมการแสดงของตนเองในทุกรอบปะปนไปกับคนดู ทั่วไป แล้วคอยสังเกตท่าทีและเงี่ยหูฟังคำวิจารณ์ของคนดู ประตู 7 บานนี้ ถือเป็นปราการแห่งความมั่นคงที่ทำให้ Cirque วิวัฒน์ตนเองจาก Circus ธรรมดาๆ เป็นโชว์ระดับโลกอย่างมั่นคงและยั่งยืนมากว่า 20 ปี ถือเป็นประตูแห่งบทเรียนและโชคลาภที่ธุรกิจอื่นๆ น่าจะแง้มประตูของตนเองมาดู Cirque du Soleil บ้างนะคะ
6 ความคิดเห็น:
เออ เพิ่งเห็นมีสาระวันเนี๊ยอ่ะ
**บ้าน818แง้มประตูของตัวเองมาดู ประตู 7บานของนานาน่ารู้ดู ดีนะมีสาระดีค่ะ**
*** เนื้อหาดี แต่สีตัวอักษรบางย่อหน้า มึนจนเดินชนประตูหัวNo เลยนะครับ
สาระดีนะคะ
อ่านอะไรที่มีสาระความรู้บ้างก็ดี จะได้ไม่เป็น
โรคอัลไซเมอร์
อ่านแล้วได้ความรู้ดี บางย่อหน้าตัวอังษรจาง รู้สึกเวียนหัว
แสดงความคิดเห็น